มหาวิทยาลัยมหาสารคามประชุมคณะทำงานภาคประชาชน ร่วมมือเครือข่ายขับเคลื่อนพัฒนามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดประชุมคณะทำงานภาคประชาชน เพื่อร่วมมือเครือข่ายขับเคลื่อนพัฒนามหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน มีหน้าที่ในการมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย ดังนี้

1. ระดับการปรึกษาหารือ โดยร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น เสนอข้อปัญหาข้อเสนอแนะต่าง ๆ กับมหาวิทยาลัย

2. ระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยและชุมขน เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างชุมชนที่เข็มแข็ง

3. ช่วยเหลือสนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนามหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เกิดการแสวงหาความร่วมมือและขับเคลื่อนสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 2308/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2566

ประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการเสนอแนะการบริหารงานมหาวิทยาลัยจากคณะทำงานภาคประชาชน

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดประชุมคณะทำงานภาคประชาชน ครั้งที่ 2/2566 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมประชุมรับฟังข้อมูลพร้อมสรุปแนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2566 มี นายอรุนัย ชาญศิริวิริยกุล เป็นประธานคณะทำงานภาคประชาชน  ได้ร่วมพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินงานของคณะทำงานภาคประชาชน พร้อมทั้งแจ้งเรื่องเพื่อทราบ การแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชนตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตลอดจนได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการสนับสนุกิจกรรมการพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2566 และการสนับสนุนการปรับปรุงหอพระกันทรวิชัยอภิสมัยธรรมนายก

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

การประชุมคณะทำงานภาคประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัย ให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เกิดความร่วมมือและขับเคลื่อนสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ  มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนนิสิต ผู้ประกอบการ และผู้นำชุมชน จำนวนกว่า 30 คน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 สำนักงานอธิการบดี อาคารบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผลจากการมีส่วนร่วม

โดยที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ ร่วมกัน รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน

คณะทำงานภาคประชาชนได้มีการเสนอแนะให้มหาวิทยาลัยควรมีการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนรอบข้างอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ทั้งด้านการบริการวิชาการ ด้านการจัดการความรู้ ด้านการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม

คณะทำงานภาคประชาชนได้ ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

  1. อยากให้ทางมหาวิทยาลัย การออกทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนให้มากขึ้น
  2. อยากให้มีการบูรณาการทำงานกิจกรรมร่วมกัน ทั้งนิสิตและชุมชน
  3. จัดกิจกรรมการที่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมจากคนรุ่นเก่า สู่รุ่นใหม่เพื่อเป็นการเผยแพร่และสืบทอดต่อไป
  4. การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมสู่ชุมชน นิสิต และบุคลากร ให้มากขึ้น

การนำผลการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

  1. มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยกองกลาง สำนักงานอธิการบดี ได้มีการหารือร่วมกันในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านทำนุบำรุงและส่งเสริมพระพุทธศาสนา งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสืบสานประเพณีท้องถิ่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีพุทธศักราช 2566-2567
  2. สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้จัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีสานให้มีความโดดเด่นระดับนานาชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2566-2567

ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 – เดือนเมษายน พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการดำเนินการตามแผนจำนวนทั้งสิ้น 8 โครงการ ได้แก่

  1. กิจกรรมสอยดาวในงานลอยกระทงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2566
  2. กิจกรรมสอยดาวในงานวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2566
  3. โครงการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เนื่องในวันออกพรรษา ประจำปี 2566
  4. โครงการกฐินสามัคคี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2566
  5. จัดงานแสดงความยินดี ผู้เข้ารับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์พระธาตุนาดูนทองคำ นักวิจัยดีเด่นฯ ประจำปี 2566
  6. โครงการทำนุบำรุงและส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี 2567
  7. โครงการมรดกทางวัฒนธรรม : ฮีตเดือน 4 ประเพณีบุญผะเหวด เทศน์มหาชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2567
  8. โครงการฮีตเดือน 5 “สรงน้ำพระ สักการะบูชา พระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก” ณ บริเวณหอพระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง)
Comments are closed.